คำชี้แจงในข้อ กฎหมาย พระราชบัญญัติ และระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องกับสุสานเอเดน
สุสานเอเดน เป็นสุสานที่จัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายจึงมีพระราชบัญญัติ กฎหมาย
และระเบียบราชการควบคุมกำกับดูแลจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการสิ่งต่างๆโดยพลการได้
จึงขอตอบคำถามในประเด็นที่มีพี่น้องคริสเตียนถามกันมาบ่อยๆ ดังนี้
ประเด็นคำถาม
1.หากเจ้าของสุสานเอเดนหรือผู้รับใบอนุญาตเสียชีวิตแล้ว สุสานจะเป็นอย่างไรต่อไป
สุสานเอเดนยังคงเป็นสุสานต่อไปหรือไม่ และญาติของผู้เสียชีวิตที่นำร่างของ
ผู้เสียชีวิตมาฝังไว้ที่ สุสานเอเดน จะยังคงสามารถฝังศพผู้เสียชีวิตได้ต่อไปหรือไม่
2.หากทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการสุสานเอเดนคนต่อไป
จะสามารถเลิกสุสานหรือไม่ทำสุสานต่อไปได้หรือไม่ และหากจะเลิกสุสาน
ทางผู้จัดการสุสานเอเดนคนต่อไปสามารถขุดเอาศพผู้เสียชีวิตออกจาก
สุสานเอเดนโดยไม่แจ้งให้ทางทายาทหรือญาติผู้เสียชีวิตทราบได้หรือไม่
ประเด็นคำถามที่ 1
หากเจ้าของสุสานเอเดนหรือผู้รับใบอนุญาตเสียชีวิตแล้ว สุสานจะเป็นอย่างไรต่อไป
สุสานเอเดนยังคงเป็นสุสานต่อไปหรือไม่ และญาติของผู้เสียชีวิตที่นำร่างของผู้เสียชีวิต
มาฝังไว้ที่สุสานเอเดน จะยังคงสามารถฝังศพผู้เสียชีวิตได้ต่อไปหรือไม่
สุสานเอเดนเป็นสุสานที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ดังนั้นจึงต้องมีการขอใบอนุญาตจัดตั้งและใบอนุญาตดำเนินการ ตามระเบียบราชการ
อีกทั้งยังมีกฎหมายอื่นๆมาควบคุมกำกับดูแล
พรบ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
มาตรา ๒๔ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ ตายหรือขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๘
และมีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๘ แสดงความจํานงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วัน
ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตายหรือขาดคุณสมบัติเพื่อขอเป็น ผู้จัดตั้งหรือเป็นผู้ดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
สาธารณะหรือสุสานและฌาปนสถานเอกชนต่อไป ให้ผู้แสดงความจํานงนั้นเป็น ผู้จัดตั้งหรือเป็นผู้ดําเนินการ
สุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือสุสานและฌาปนสถานเอกชนต่อไปได้ตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาต
ตายหรือขาดคุณสมบัติจนถึงวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ
ในกรณีที่ไม่มีบุคคลใดแสดงความจํานงภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เข้าทําหน้าที่แทนเสมือนเป็น ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา๖หรือมาตรา๗ ขึ้นใหม่
จากระเบียบที่กล่าวไว้ใน พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528 มาตรา 24
จะเห็นได้ว่า เมื่อเจ้าของสุสานเอเดนซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและใบอนุญาตดำเนินการเสียชีวิตลง
ใบอนุญาตก็ยังคงดำเนินต่อไป แม้หากยังไม่มีผู้มายื่นคำร้องขอรับช่วงใบอนุญาตต่อ
ทางหน่วยงานราชการก็จะเข้ามากำกับดูแล เสมือนเป็นผู้รับใบอนุญาต จนกว่าจะมีผู้มายื่นคำร้อง
ขอรับใบอนุญาตต่อไป
ดังนั้นเมื่อผู้จัดการสุสานเสียชีวิตลงสุสานเอเดนก็ยังคงมีสถานะเป็นสุสานต่อไป
ศพของผู้เสียชีวิตที่ฝังอยู่ในสุสานเอเดน ก็ยังคงฝังอยู่ในสุสานเอเดนต่อไป โดยไม่มีการขุดศพออก
หรือรื้อถอนแต่อย่างใด
ประเด็นคำถามที่ 2
หากทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการสุสานเอเดนคนต่อไป
จะสามารถเลิกสุสานหรือไม่ทำสุสานต่อได้หรือไม่ และหากจะเลิกสุสาน
ทางผู้จัดการสุสานเอเดนคนต่อไปสามารถขุดเอาศพผู้เสียชีวิตออกจาก
สุสานเอเดนโดยไม่แจ้งให้ทางญาติผู้เสียชีวิตทราบได้หรือไม่
จากข้อสงสัยดังกล่าว จะมีข้อกฎหมาย และ ระเบียบราชาการที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528 มาตรา 10 และ มาตรา 21
2. ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 ข้อ 69
ออกตามความในพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535
3. ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดเกี่ยวกับศพ มาตรา 366/3
ผู้จัดการสุสานเอเดนจึงขอชี้แจงรายละเอียดข้อกฎหมาย และระเบียบราชการ ดังนี้
1.พรบ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
มาตรา ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ฝัง หรือเผาศพในสถานที่อื่นนอกจากในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือ
สุสานและฌาปนสถานเอกชน หรือเก็บศพในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือ
เคหสถานเป็นการชั่วคราว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีที่สถานที่อื่นตามวรรคหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาลเขตสุขาภิบาลและเขตเมืองพัทยา
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือกำนันแห่งท้องที่ เป็นผู้อนญุาต แทนได้
มาตรา ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖ ซึ่งประสงค์จะเลิกสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ
หรือสุสานและฌาปนสถานเอกชน ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
สิบห้าวัน
ข้อ ๖๙ เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการตาย ให้สอบถามรายละเอียดจากผู้แจ้งว่าศพจะเก็บ ฝัง เผา
ทําลาย หรือย้ายศพ ณ สถานที่ใด เมื่อใด แล้วให้ลงรายการในใบรับแจ้งการตายหรือมรณบัตร แล้วแต่กรณี
และให้ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการอนุญาตในการเก็บ ฝัง เผา ทําลาย หรือย้ายศพ
หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิมถ้าศพนั้นอยู่ในท้องที่ใดให้แจ้งขออนุญาตต่อนาย
ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้นโดยให้เรียกมรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายจากผู้แจ้งแล้วบันทึกการอนุญาไว้
3. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 366/3
มาตรา ๓๖๖/๓ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้เสียหาย เคลื่อนย้าย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้
ประโยชน์ ซึ่งศพ ส่วนของศพ อัฐิ หรือเถ้าของศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้จัดการสุสานเอเดนขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้
พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานพ.ศ. 2528 ได้เปิดช่องไว้ให้
สุสานและฌาปนสถาน สามารถแจ้งเลิกได้ ตามมาตรา 21 แต่ในมาตรา 10 ระบุไว้ว่า
“ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ฝัง หรือเผาศพในสถานที่อื่นนอกจากในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือ
สุสานและฌาปนสถานเอกชน หรือเก็บศพในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
หรือเคหสถานเป็นการชั่วคราว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น”
ซึ่งหมายถึงหากจะเลิกสุสานและฌาปนสถาน จะต้องไม่มีศพฝังอยู่ภายในสุสาน จึงจะสามารถ
แจ้งความประสงค์ที่จะเลิกสุสานและฌาปนสถานได้ การที่จะย้ายเอาศพออกจากสุสานได้ จะต้อง
ให้ทายาทของผู้เสียชีวิต แจ้งขอเปลี่ยนแปลงการจัดการศพในใบมรณบัตรกับทาง
เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ( ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535
ข้อ 69 ออกตามความในพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 ) จึงจะสามารถย้ายศพออกจาก
สุสานเอเดนได้ ดังนั้นหากมีทายาทหรือญาติของผู้เสียชีวิตไม่ยินยอมที่จะไปแจ้งเปลี่ยนแปลงการจัดการศพ
เพื่อที่จะย้ายศพ ทางสุสานเอเดนก็ไม่สามารถขุดย้ายศพออกไปได้ และหากทางผู้จัดการสุสานเอเดน ถือสิทธิ
ในกรรมสิทธิ์ ที่ดินสุสานและจะทำการขุดย้ายศพโดยพลการย่อมเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากยังมี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 366/3 ซึ่งอาจทำให้ผู้จัดการสุสานเอเดนคนปัจจุบัน ทายาท หรือ
ผู้รับใบอนุญาตคนต่อไป มีความผิดทางคดีอาญา
มาตรา ๓๖๖/๓ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้เสียหาย เคลื่อนย้าย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้
ประโยชน์ ซึ่งศพ ส่วนของศพ อัฐิ หรือเถ้าของศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ